การเลือกใช้ถุงมือให้ความปลอดภัย

 
     ความผิดพลาดที่มาจากการทำงานย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และนั่นก็หมายถึงอันตรายที่อาจเกิดกับผู้ปฏิบัติงานได้เช่นกัน การเลือกใช้ถุงมือในห้องแลบ ให้เหมาะสมกับงานก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดอันตรายจากสารเคมี วันนี้เราเลยจะแชร์บทความเรื่อง "การเลือกใช้ถุงมือให้มีความปลอดภัย"
     
     ถุงมือสำหรับใช้กับสารเคมีมีมากมายหลายชนิด ทำจากวัสดุต่างๆ กัน ตั้งแต่ latex หรือยางธรรมชาติ ยาง butyl, PVC, PVA เป็นต้น วัสดุบางตัวเหมาะกับการใช้งานในห้องปฏิบัติการทั่วๆ ไป เช่น ถุงมือ PVA เหมาะกับตัวทำละลายหลายชนิด เช่น benzene, ethyl ether, n-hexane และ chloroform แต่สามารถละลายได้ในน้ำ จึงใช้ทำงานกับปฏิกิริยาที่มีน้ำอยู่ด้วยไม่ได้ ถุงมือมีทั้งที่เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง หรือแบบที่นำกลับมาใช้ได้อีกต้องดูให้ดี ๆ เพราะถุงมือพวก disposable ไม่ทนทานใช้ได้ไม่นาน เหมาะกับงานเบาๆ และงานที่กำจัดการปนเปื้อนได้ยาก
 
     เวลาใช้ถุงมือประเภทนี้ต้องตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาว่ามีรูหรือยัง ถ้าจวนขาดต้องรีบเปลี่ยนก่อน จำไว้ว่า ไม่มีถุงมือแบบเดียวที่ใช้ได้กับสารทุกตัวที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการ ควรตรวจสอบ MSDS ว่าควรใช้ถุงมือประเภทไหนถึงเหมาะสมกับสารที่เราทำงานอยู่ด้วย ตารางที่ให้มาแสดงถึงวัสดุที่เหมาะสมกับสารเคมีแต่ละประเภทอย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น ความหนาของถุงมือ ความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้จำนวนประเภทของสารที่มาสัมผัสกับถุงมือนั้นๆ ระยะเวลาในการสัมผัส อุณหภูมิ โอกาสในการสึกกร่อนหรือฉีกขาด
ข้อแนะนำความปลอดภัยในการใช้ถุงมือ
 
1.ใช้ถุงมือให้เหมาะสมกับงาน
2.เลือกถุงมือที่สามารถทนสารทุกอย่างที่เราใช้งาน ถ้าหาไม่ได้เลือกถุงมือที่ป้องกันเราจากสารที่อันตรายที่สุด
3.ตรวจสอบดูว่าไม่มีรูหรือรอยเสียหายก่อนใช้ แม้ว่าเป็นถุงมือใหม่
4.อย่านำถุงมือ disposable กลับมาใช้อีก ทิ้งไปทันทีที่ทำงานเสร็จ หรือมีรอยเสียหายเกิดขึ้น
5.ทำความสะอาด หรือกำจัดการปนเปื้อนถุงมือ reusable ทั้งก่อนและหลังใช้งานแล้ว
6.ล้างมือหลังจากถอดถุงมือแล้วเสมอ
 
เพื่อนๆท่านใดที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับห้องแลบ สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามได้เลยครับ บริษัทเราจะให้บริการ ออกแบบ ผลิต ติดตั้ง และการทำ Preventive Maintenance ในห้องแลบ ทางเรายินดีรับฟังทุกไอเดีย และปัญหาในการทำงานของทุกท่านเลยครับ
 
ขอขอบคุณ Dr. Prapaipit C. Ternai ( Laboratory Safety Design and Consultant ) ที่อนุญาตให้นำเนื้อหาส่วนหนึ่งของวารสาร The Lab มาเผยแพร่