สารปรอทหก (ไม่ใช่สารประกอบของปรอท) จะทำอย่างไรดี

สารปรอทหก (ไม่ใช่สารประกอบของปรอท) จะทำอย่างไรดี

   เวลาปรอทหกซึ่งมักเกิดจากเทอร์โมมิเตอร์หรือมานอมิเตอร์แตกปรอทแตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ และสามารถเข้าไปอยู่ระหว่างซอกที่มีขนาดเล็กมาๆ ได้ หลังจากนั้นมันสามารถระเหยออกมาสู่บรรยากาศได้อย่างช้าๆ ไอปรอทไม่มีกลิ่น การได้รับปรอทส่วนใหญ่มาจากการหายใจ เอาไอปรอทเข้าไป การสัมผัสด้วยมือถือว่าไม่เป็นอันตรายเท่าไร เพราะผิวหนังเราเป็นตัวกั้นที่ดีอยู่แล้ว แต่จำไว้ว่า “ระวังไว้ดีกว่ามาเสียใจภายหลัง”

   ปัญหาสุขภาพที่มาจากการได้รับปรอท ขึ้นกับปริมาณที่เข้าสู่ร่างกาย ทางเข้าสู่ร่างกาย เวลาที่สัมผัส และร่างกายของเราตอบสนองกับมันอย่างไร การทำความสะอาดและการกำจัดปรอทที่หกไม่ว่าปริมาณเท่าไรก็ตาม ต้องทำด้วยความระมัดระวัง มันไม่มีอันตรายทันที ดังนั้น เรามีเวลาในการคิดให้ดีก่อนจะทำอะไรลงไป

 

ถ้าปรอทหก เราควรทำอย่างไรดี

   การทำความสะอาดปรอทที่หกจากพื้นผิวราบเรียบทำได้ง่าย เช่น ไม้ลิโนเลียม หรือกระเบื้อง แต่ถ้ามีการหกบนพรม ม่านหรือพื้นผิวต่างๆ ที่หยาบหรือขรุขระ ส่วนที่โดนปรอทต้องตัดทิ้งไป   พร้อมกับสิ่งต่างๆ ที่เราใช้ในการทำความสะอาด

การจัดการจะขึ้นกับปริมาณปรอทที่หก

   ถ้าน้อยกว่า หรือเท่ากับปริมาณในเทอร์โมมิเตอร์

สิ่งที่ต้องใช้ในการทำความสะอาด

ถุงพลาสติกที่ปิดได้สนิท      ถุงขยะแบบหนา (2-3 ม.ม.)

ถุงมือยางหรือลาเทกซ์        กระดาษแข็ง

หลอดหยด                    เทปกว้างๆ

ไฟฉาย                        ผงกำมะถัน


1.ให้ทุกคนออกจากพื้นที่นั้น (โดยเฉพาะเด็กและสัตว์เลี้ยง) ใส่ถุงมือ ถ้าไม่มีใช้ถุงพลาสติกเพื่อเก็บปรอท ระวังอย่าให้มีรูเกิดขึ้น เปิดหน้าต่างทั้งหมด และเปิดทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง หลังจากทำความสะอาดแล้ว

2.ถ้ามีผงกำมะถัน โรยไปให้ครอบคลุมบริเวณที่หกทั้งหมด ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับปรอทแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ปรอทนั้นไม่ระเหยอีกต่อไป ใช้ก้นแก้วที่เรียบถูเบาๆ บนผงกำมะถัน เพื่อช่วยให้ปรอททำปฏิกิริยากับกำมะถันทั้งหมด หลังจากนั้นค่อยๆ กวาดผงกำมะถันที่ทำปฏิกิริยา แล้วใส่ลงไปในถุงพลาสติกปิดปากถุงให้สนิทใส่ถุงนั้นลงในถุงขยะแล้วปิดปากถุงที่สองนี้ให้แน่น

3.เอาแก้วที่แตกใส่ถุงแรกก่อน แล้วเอาถุงแรกใส่ถุงขยะอีกทีถุงทั้งสองใบต้องปิดแน่นสนิท ระวังแก้วที่คม

4.ถ้าไม่มีผงกำมะถัน ใช้กระดาษแข็งกอบปรอทให้เข้ามารวมกันเป็นเม็ดใหญ่อย่างช้าๆ ถ้าทำแรงปรอทจะแตกกระจายออกไป ซ่อนอยู่ตามซอกต่างๆ ได้มากขึ้น

5.ใช้หลอดหยอดดูดเม็ดปรอทขึ้น จำไว้ว่าปรอทหนักมาก และอาจร่วงกลับออกมาจากหลอดหยดได้ทันทีที่หยุดดูด ใส่ปรอทไว้ในแก้ว แล้วหาผงกำมะถันมาใส่ลงไปในแก้วภายหลัง คนให้เข้ากัน ห้ามใช้ช้อนโลหะ

6.ใส่ทุกอย่าง: สารปรอท กระดาษ วัสดุที่ใช้ในการทำความสะอาด (รวมทั้งถุงมือ) ลงในถุงขยะ  ปิดให้แน่น พร้อมทั้งติดฉลากด้วย

7.ทั้งหมดในข้อ 6 ถือว่าเป็นของเสียทางเคมี ต้องกำจัดแบบของเสียทางเคมี

 

สิ่งที่ห้ามทำถ้าปรอทหก

ห้ามใช้เครื่องดูดฝุ่น เพราะจะทำให้อัตราการระเหยสูงขึ้น

ห้ามใช้ไม้กวาด เพราะจะทำให้กระจายมากยิ่งขึ้นอีก

ห้ามทิ้งปรอทลงท่อน้ำทิ้ง

ห้ามซักผ้าหรือสิ่งที่ปนเปื้อนปรอทในเครื่องซักผ้า

ห้ามเดินไปทั่วๆ เพราะรองเท้าอาจมีปรอทปนเปื้อนเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนก็ทำให้ปรอทกระจายไปได้

ถ้ามากกว่าหนึ่งหรือสองช้อนโต๊ะ แยกส่วนพื้นที่นั้นทันที ห้ามใครเข้า อย่ากำจัดปรอทที่หกด้วยตนเอง โรยพื้นที่ที่มีปรอทด้วยกำมะถันจำนวนมากติดต่อพนักงานความปลอดภัย ถ้าไม่มีอย่าให้คนเดินผ่านเข้าออก และทิ้งให้ปรอททั้งหมดทำปฏิกิริยากับกำมะถันก่อนที่ทำความสะอาด

 

ขอขอบคุณ Dr. Prapaipit C. Ternai ( Laboratory Safety Design and Consultant ) ที่อนุญาตให้นำเนื้อหาส่วนหนึ่งของวารสาร The Lab มาเผยแพร่

www.neolabinter.co.th เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้นะครับ