สิ่งที่ควรคำนึงถึงทางด้านไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงทางด้านไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ
ไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านตัวนำและพยายามที่จะวิ่งไปสู่พื้นดินเสมอ ตัวนำที่ดีได้แก่ ร่างกายของคนเรา น้ำ พื้นที่เปียก และโลหะ สิ่งที่ตรงข้ามกับตัวนำเรียกว่า ฉนวน ซึ่งไม่ยอมให้กระแสไฟผ่านได้ง่ายๆ เช่น พลาสติก รองเท้ายาง ไม้ที่แห้ง และแก้ว ไฟฟ้าวิ่งไปตามสายไฟซึ่งมีทั้งหมดด้วยกัน 3 สาย สายที่หนึ่งเป็นสายที่ไฟเข้ามา (live/active) สายที่สองเป็นสายกลาง (neutral) และที่เหลือเป็นสายดิน (ground/earth) ถ้ามีการต่อสายผิด เช่นต่อสายที่มีไฟเข้ากับสายกลาง จะทำให้เกิดไฟรั่วอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรารู้สึกได้เมื่อแตะเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ
ระบบสากลกำหนดสีของสายไฟไว้ดังนี้ สีน้ำตาลสำหรับ active น้ำเงินสำหรับ neutral และเขียวสำหรับ ground แผงเสียบทั่วไปในห้องปฏิบัติการควรมีตัวป้องกันการรั่วของกระแสไฟฟ้า (residual current protection) ต่ออยู่เสมอ ถ้าแผงเสียบไหนไม่มี ควรมีป้ายติดบอกไว้ด้วยการกำจัดไฟฟ้าที่ตกค้างจะจำเป็นสำหรับเครื่องมือที่ต้องการไฟฟ้าที่คงที่สม่ำเสมอไม่ขึ้นๆลงๆ หรือเครื่องมือที่มักเกิดไฟรั่วได้
มาดรฐาน AS 2430 กำหนดไว้ว่า ปลั๊กไฟต้องอยู่สูงจากหน้าโต๊ะอย่างน้อย 30 ชม. ระดับแสงสว่างในห้องปฏิบัติการจะต้องเพียงพอสำหรับงานที่ทำ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ต้องมีตัวปรับสี ส่วนที่ใส่หลอดไฟที่เพดานต้องปิดสนิท ไม่ว่าความดันในห้องปฏิบัติการ จะเป็นความดันที่ต่ำกว่าหรือมากกว่าด้านนอกห้องก็ตาม เพื่อไม่ให้อากาศปนเปื้อนเข้าไปภายในได้ สำหรับปลั๊กที่นักเรียนใช้ต้องผ่านตัวควบคุมฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ใกล้กับตัวคุมแก๊สแถวๆ บริเวณโต๊ะครู ซึ่งสามารถตัดไฟได้ทันทีโดยการกดปุ่มฉุกเฉิน
ขอขอบคุณ Dr. Prapaipit C. Ternai ( Laboratory Safety Design and Consultant ) ที่อนุญาตให้นาเนื้อหาส่วนหนึ่งของวารสาร The Lab มาเผยแพร่